เสาวรส ท.

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ที่มาของปูทูลกระหม่อม

  สืบเนื่องมาจากปี พ.ศ. 2536 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้นำและมีพระปรีชาสามารถในงานด้านวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้กราบทูล ขอพระราชทานพระอนุญาต อัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นนามของปูน้ำจืดชนิดนี้และได้รับพระราชทานอนุญาตให้เรียกชื่อปู ชนิดนี้ว่า "ปูทูลกระหม่อม" ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน และได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14    ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2543) เพิ่มเติมจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่  117 ตอนที่ 3 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2543
            จากการสำรวจนับจำนวนปูทูลกระหม่อมระหว่างวันที่ 15-21 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เจ้าหน้าที่สำรวจสามารถเข้าถึงพื้นที่และตรวจ นับจำนวนรูปูทูลกระหม่อมได้  23,488 รู ในพื้นที่ 120 ไร่ ซึ่งรวมกับบริเวณที่เป็นป่าหญ้ารกทึกซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถเข้าถึงในพื้นที่อีก 42 ไร่ ซึ่งมีจำนวนปูอาศัยอยู่น้อย จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างพื้นที่ 1 ไร่ต่อจำนวนปู 10 ตัว สรุปว่าจำนวนปูทูลกระหม่อมที่สำรวจในปี พ.ศ.2546 ในพื้นที่รวมทั้งหมด  162 ไร่ คือ 23,908 ตัว  (http://www.blogger.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น