เสาวรส ท.

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554


ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่ถนนหน้าโรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ได้รวบรวมไพร่พลจากร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ ได้สร้างหลักเมืองและอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองนับเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่ชาวจังหวัดมหาสารคามให้ความเคารพนับถือกันมาก
(http://www.siamfreestyle.com)

บึงบอน

บึงบอน

บึงบอน ตั้งอยู่ที่ ตำบลหัวขวาง ซึ่งอยู่ถัดจากวนอุทยานโกสัมพีไปประมาณ 100 เมตร บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จาก ททท. โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกันกับวนอุทยานโกสัมพี
(http://www.siamfreestyle.com)

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและต้นไม้ หลายชนิด เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป  (http://www.siamfreestyle.com)

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา) ตั้งอยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ โคปุระอยู่แนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าออกภายในกำแพงเพียงด้านเดียว บรรณาลัยอยู่ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทางเข้าในปรางค์ประธานเพียงด้านเดียว คือ ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังเป็นหินทราย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเรียบร้อยแล้ว
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด)  ( http://www.siamfreestyle.com)

กู่สันตรัตน์

กู่สันตรัตน์

กู่สันตรัตน์ เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ
(http://www.siamfreestyle.com)

บ้านปั้นหม้อ

หมู่บ้านปั้นหม้อ

หมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 (มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด) ประมาณ 4 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้เป็นหม้อน้ำ หม้อแกง กรรมวิธีทำยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม
(http://www.siamfreestyle.com)
บ้านแพง

บ้านแพง

บ้านแพง ตำบลแพง เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 208 (มหาสารคาม-โกสุมพิสัย-ขอนแก่น) เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางโกสุมพิสัย-ขอนแก่น ระหว่างกิโลเมตรที่ 20-21 ห่างจากอำเภอโกสุมพิสัย 9 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองประมาณ 38 กิโลเมตร (http://www.siamfreestyle.com)
หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง


การเดินทาง

จากตัวเมืองไปตามเส้นทางสายมหาสารคาม-โกสุมพิสัย ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายระหว่างกิโลเมตรที่ 47-48 ไปตามทางลาดยางหมายเลข 1027 สู่บ้านโนนตาล เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้านหนองเขื่อนช้าง
(
http://www.siamfreestyle.com)

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าสองคอน เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมซื้อสินค้าที่ระลึกแห่งนี้ได้http (//www.siamfreestyle.com)
พระพุทธรูปมิ่งเมือง

พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี

พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี สร้างด้วยหินทรายแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยทวาราวดีที่ ชาวมหาสารคามนับถือกัน มาประดิษฐานที่วัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย
(http://www.siamfreestyle.com)
 พระพุทธรูปยืนมงคล

พระพุทธรูปยืนมงคล

พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธมิ่งเมือง เชื่อกันว่าอำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจึงสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง และผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคลขึ้นเพื่อขอฝน แล้วเสร็จพร้อมกันจึงจัดงานฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก
(http://www.siamfreestyle.com)

ที่มาของปูทูลกระหม่อม

  สืบเนื่องมาจากปี พ.ศ. 2536 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้นำและมีพระปรีชาสามารถในงานด้านวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้กราบทูล ขอพระราชทานพระอนุญาต อัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นนามของปูน้ำจืดชนิดนี้และได้รับพระราชทานอนุญาตให้เรียกชื่อปู ชนิดนี้ว่า "ปูทูลกระหม่อม" ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน และได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14    ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2543) เพิ่มเติมจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่  117 ตอนที่ 3 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2543
            จากการสำรวจนับจำนวนปูทูลกระหม่อมระหว่างวันที่ 15-21 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เจ้าหน้าที่สำรวจสามารถเข้าถึงพื้นที่และตรวจ นับจำนวนรูปูทูลกระหม่อมได้  23,488 รู ในพื้นที่ 120 ไร่ ซึ่งรวมกับบริเวณที่เป็นป่าหญ้ารกทึกซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถเข้าถึงในพื้นที่อีก 42 ไร่ ซึ่งมีจำนวนปูอาศัยอยู่น้อย จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างพื้นที่ 1 ไร่ต่อจำนวนปู 10 ตัว สรุปว่าจำนวนปูทูลกระหม่อมที่สำรวจในปี พ.ศ.2546 ในพื้นที่รวมทั้งหมด  162 ไร่ คือ 23,908 ตัว  (http://www.blogger.com)

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับปูทูลกระหม่อม

ปูทูลกระหม่อม หรือ ปูแป้ง (อังกฤษ: Mealy Crab, ชื่อวิทยาศาสตร์: Thaipotamon Chulabhorn) เป็นปูน้ำจืดที่ค้นพบในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคามโดยศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นปีที่ปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา จึงขอพระราชทานชื่อว่า "ปูทูลกระหม่อม" และได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14 ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2543)

ปูทูลกระหม่อม

ปูทูลกระหม๋อม

เกี่ยวกับป่าดูนลำพัน...

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นป่าธรรมชาติ มีน้ำไหลเฉพาะที่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่าป่าน้ำซับ นอกจากนั้นยังมีพืชและสัตว์ที่ไม่ค่อยพบในที่อื่นๆและหายากเช่น ต้นลำพัน,เห็ดลาบ,ปลาคอกั้ง,งูขา และปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก  ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่นม่วง,ส้ม,เหลืองและขาว และจะพบเฉพาะที่ป่าดูนลำพันแห่งนี้เท่านั้น

เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าดูนลำพัน

เขตห้ามล่าสัตว์ ป่าดูนลำพัน อ.นาเชือก  จ.มหาสารคาม

เกี่ยวกับวนอุทยานโกสัมพี

 วนอุทยานโกสัมพีอยู่ ในท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลหัวขวาง ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519
ลักษณะภูมิประเทศ
ป่าหนองบุ้งเป็นป่าดงดิบมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำชี ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณป่าหนองบุ้ง ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ขนาดเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำตลอดอีกประมาณ 1- 1.50 เมตร บริเวณป่าหนองบุ้งด้านทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับถนนข้างมณฑปหลวงพ่อมิ่งเมือง และวัดกลางโกสุมพิสัย จะมีลักษณะเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติมาตั้งแต่เดิม เนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ และบริเวณที่อยู่ถัดลงไปทางด้านทิศตะวันตกจนจดลำชีหลง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่
พืชพรรณและสัตว์ป่า
มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้ นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น
สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา

วนอุทยานโกสัมพี

อ. โกสุมพิสัย จ. มหาสารคาม

เกี่ยวกับพระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน เป็นโบราณวัตถุที่มีอายุมากว่า 1,300 ปี ขุดพบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522
บนที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฏรบ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน
จังหวัดมหาสารคาม การค้นขุดค้นพบตอนแรก ขุดได้โดยคนหลายกลุ่มคน
แต่เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้ติดตามวัตถุในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
จากส่วนหนึ่งที่ขุดได้ ก็สามารถนำมารวมกัน ปรากฏว่า ต่อเข้ากันได้รูปทรง
เหมาะสมกันดีมาก มีการพิสูจน์อีกครั้งว่าสถูปนี้ใช้สำหรับบรรจุสิ่งใด ผลการตรวจ
พิสูจน์รายละเอียดวัตถุโบราณชิ้นนี้แล้ว ลงความเห็นว่าเป็นสถูปที่ใช้บรรจุพระ 
สารีริกธาตุ ลักษณะสถูปทำด้วยทองสำริด มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ 1.ส่วนยอด 
มีลักษณะ เป็นปล้องไฉน จำนวน 2 ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม
2. ตัวสถูปทำด้วยทองสำริด มีลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอคว่ำ ส่วนยอดของ
ตัวสถูป จะรับเข้ากับส่วนล่างสุดของส่วนยอดพอดี
ในการขุดครั้งนั้น ชาวบ้าน รวมทั้งผู้คนทั่วสารทิศ ขุดได้พระพิมพ์ต่าง ๆ ได้หลาย
สิบกระสอบ และในปัจจุบันวัตถุเหล่านั้น บูชากันราคาระดับต้น ๆ ของเมืองไทย
กราบพระธาตุนาดูน ณ พุทธมณฑลอีสาน และศึกษาประวัติได้ที่พระธาตุนาดูน 
อ.นาดูน จ.มหาสารคาม หรือ web site การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

วีดีโอพระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน

เชิญเที่ยวพระธาตุนาดูน โบราณวัตถุที่มีอายุมากกว่า 1,300 ปี ขุดพบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522