เสาวรส ท.

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554


ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่ถนนหน้าโรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ได้รวบรวมไพร่พลจากร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ ได้สร้างหลักเมืองและอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองนับเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่ชาวจังหวัดมหาสารคามให้ความเคารพนับถือกันมาก
(http://www.siamfreestyle.com)

บึงบอน

บึงบอน

บึงบอน ตั้งอยู่ที่ ตำบลหัวขวาง ซึ่งอยู่ถัดจากวนอุทยานโกสัมพีไปประมาณ 100 เมตร บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จาก ททท. โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกันกับวนอุทยานโกสัมพี
(http://www.siamfreestyle.com)

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและต้นไม้ หลายชนิด เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป  (http://www.siamfreestyle.com)

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)

กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา) ตั้งอยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ โคปุระอยู่แนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าออกภายในกำแพงเพียงด้านเดียว บรรณาลัยอยู่ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทางเข้าในปรางค์ประธานเพียงด้านเดียว คือ ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังเป็นหินทราย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเรียบร้อยแล้ว
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด)  ( http://www.siamfreestyle.com)

กู่สันตรัตน์

กู่สันตรัตน์

กู่สันตรัตน์ เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ
(http://www.siamfreestyle.com)

บ้านปั้นหม้อ

หมู่บ้านปั้นหม้อ

หมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 (มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด) ประมาณ 4 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้เป็นหม้อน้ำ หม้อแกง กรรมวิธีทำยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม
(http://www.siamfreestyle.com)
บ้านแพง

บ้านแพง

บ้านแพง ตำบลแพง เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 208 (มหาสารคาม-โกสุมพิสัย-ขอนแก่น) เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางโกสุมพิสัย-ขอนแก่น ระหว่างกิโลเมตรที่ 20-21 ห่างจากอำเภอโกสุมพิสัย 9 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองประมาณ 38 กิโลเมตร (http://www.siamfreestyle.com)
หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง


การเดินทาง

จากตัวเมืองไปตามเส้นทางสายมหาสารคาม-โกสุมพิสัย ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายระหว่างกิโลเมตรที่ 47-48 ไปตามทางลาดยางหมายเลข 1027 สู่บ้านโนนตาล เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้านหนองเขื่อนช้าง
(
http://www.siamfreestyle.com)

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง

หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าสองคอน เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมซื้อสินค้าที่ระลึกแห่งนี้ได้http (//www.siamfreestyle.com)
พระพุทธรูปมิ่งเมือง

พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี

พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี สร้างด้วยหินทรายแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยทวาราวดีที่ ชาวมหาสารคามนับถือกัน มาประดิษฐานที่วัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย
(http://www.siamfreestyle.com)
 พระพุทธรูปยืนมงคล

พระพุทธรูปยืนมงคล

พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธมิ่งเมือง เชื่อกันว่าอำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจึงสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง และผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคลขึ้นเพื่อขอฝน แล้วเสร็จพร้อมกันจึงจัดงานฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก
(http://www.siamfreestyle.com)

ที่มาของปูทูลกระหม่อม

  สืบเนื่องมาจากปี พ.ศ. 2536 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้นำและมีพระปรีชาสามารถในงานด้านวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้กราบทูล ขอพระราชทานพระอนุญาต อัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นนามของปูน้ำจืดชนิดนี้และได้รับพระราชทานอนุญาตให้เรียกชื่อปู ชนิดนี้ว่า "ปูทูลกระหม่อม" ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน และได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14    ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2543) เพิ่มเติมจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่  117 ตอนที่ 3 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2543
            จากการสำรวจนับจำนวนปูทูลกระหม่อมระหว่างวันที่ 15-21 พฤษภาคม พ.ศ.2546 เจ้าหน้าที่สำรวจสามารถเข้าถึงพื้นที่และตรวจ นับจำนวนรูปูทูลกระหม่อมได้  23,488 รู ในพื้นที่ 120 ไร่ ซึ่งรวมกับบริเวณที่เป็นป่าหญ้ารกทึกซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถเข้าถึงในพื้นที่อีก 42 ไร่ ซึ่งมีจำนวนปูอาศัยอยู่น้อย จึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างพื้นที่ 1 ไร่ต่อจำนวนปู 10 ตัว สรุปว่าจำนวนปูทูลกระหม่อมที่สำรวจในปี พ.ศ.2546 ในพื้นที่รวมทั้งหมด  162 ไร่ คือ 23,908 ตัว  (http://www.blogger.com)