เสาวรส ท.
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เกี่ยวกับปูทูลกระหม่อม
ปูทูลกระหม่อม หรือ ปูแป้ง (อังกฤษ: Mealy Crab, ชื่อวิทยาศาสตร์: Thaipotamon Chulabhorn) เป็นปูน้ำจืดที่ค้นพบในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคามโดยศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นปีที่ปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา จึงขอพระราชทานชื่อว่า "ปูทูลกระหม่อม" และได้กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14 ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2543)
เกี่ยวกับป่าดูนลำพัน...
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นป่าธรรมชาติ มีน้ำไหลเฉพาะที่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่าป่าน้ำซับ นอกจากนั้นยังมีพืชและสัตว์ที่ไม่ค่อยพบในที่อื่นๆและหายากเช่น ต้นลำพัน,เห็ดลาบ,ปลาคอกั้ง,งูขา และปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่นม่วง,ส้ม,เหลืองและขาว และจะพบเฉพาะที่ป่าดูนลำพันแห่งนี้เท่านั้น
เกี่ยวกับวนอุทยานโกสัมพี
วนอุทยานโกสัมพีอยู่ ในท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลหัวขวาง ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519
ลักษณะภูมิประเทศ
ป่าหนองบุ้งเป็นป่าดงดิบมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำชี ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณป่าหนองบุ้ง ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ขนาดเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำตลอดอีกประมาณ 1- 1.50 เมตร บริเวณป่าหนองบุ้งด้านทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับถนนข้างมณฑปหลวงพ่อมิ่งเมือง และวัดกลางโกสุมพิสัย จะมีลักษณะเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติมาตั้งแต่เดิม เนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ และบริเวณที่อยู่ถัดลงไปทางด้านทิศตะวันตกจนจดลำชีหลง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่
พืชพรรณและสัตว์ป่า
มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้ นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น
สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา
ลักษณะภูมิประเทศ
ป่าหนองบุ้งเป็นป่าดงดิบมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบอยู่ริมแม่น้ำชี ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณป่าหนองบุ้ง ซึ่งเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ขนาดเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มีน้ำตลอดอีกประมาณ 1- 1.50 เมตร บริเวณป่าหนองบุ้งด้านทิศใต้มีอาณาเขตติดต่อกับถนนข้างมณฑปหลวงพ่อมิ่งเมือง และวัดกลางโกสุมพิสัย จะมีลักษณะเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติมาตั้งแต่เดิม เนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ และบริเวณที่อยู่ถัดลงไปทางด้านทิศตะวันตกจนจดลำชีหลง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่
พืชพรรณและสัตว์ป่า
มีพรรณไม้หลายชนิดส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ กะเบา ยาง ชมภู่ป่า หว้า ทองกวาว กระโดดสำหรับไม้พื้นล่างส่วนใหญ่ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง หวาย ตดตะกั่ว มะดัน นมแมว คัดเค้า และไม้ไผ่ นอกจากนั้นยังมีต้นจามจุรี หรือก้ามปู ซึ่งชาวบ้านนำไปปลูกไว้ นอกจากจะมีพรรณไม้ดังกล่าวมาแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้มีค่านานาชนิด อาทิเช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ เป็นต้น
สัตว์ป่าที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ลิง ซึ่งมีอยู่ 2 ฝูง จำนวนประมาณ 500 ตัว และยังมีนกกางเขนบ้าน นกกิ้งโค้ง นกสาริกา นกเอี้ยงหงอน นกปรอดสวน นกปรอดหัวโขน นกอีเสือหัวดำ และพวกนกกระจิบธรรมดา
เกี่ยวกับพระธาตุนาดูน
พระธาตุนาดูน เป็นโบราณวัตถุที่มีอายุมากว่า 1,300 ปี ขุดพบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522
บนที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฏรบ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน
จังหวัดมหาสารคาม การค้นขุดค้นพบตอนแรก ขุดได้โดยคนหลายกลุ่มคน
แต่เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้ติดตามวัตถุในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
จากส่วนหนึ่งที่ขุดได้ ก็สามารถนำมารวมกัน ปรากฏว่า ต่อเข้ากันได้รูปทรง
เหมาะสมกันดีมาก มีการพิสูจน์อีกครั้งว่าสถูปนี้ใช้สำหรับบรรจุสิ่งใด ผลการตรวจ
พิสูจน์รายละเอียดวัตถุโบราณชิ้นนี้แล้ว ลงความเห็นว่าเป็นสถูปที่ใช้บรรจุพระ
สารีริกธาตุ ลักษณะสถูปทำด้วยทองสำริด มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ 1.ส่วนยอด
มีลักษณะ เป็นปล้องไฉน จำนวน 2 ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม
2. ตัวสถูปทำด้วยทองสำริด มีลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอคว่ำ ส่วนยอดของ
ตัวสถูป จะรับเข้ากับส่วนล่างสุดของส่วนยอดพอดี
ในการขุดครั้งนั้น ชาวบ้าน รวมทั้งผู้คนทั่วสารทิศ ขุดได้พระพิมพ์ต่าง ๆ ได้หลาย
สิบกระสอบ และในปัจจุบันวัตถุเหล่านั้น บูชากันราคาระดับต้น ๆ ของเมืองไทย
กราบพระธาตุนาดูน ณ พุทธมณฑลอีสาน และศึกษาประวัติได้ที่พระธาตุนาดูน
อ.นาดูน จ.มหาสารคาม หรือ web site การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)